วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปลาปิรันยา

ปลาปิรันยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาปิรันยา
ปลาปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereri)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Characiformes
วงศ์:Characidae
วงศ์ย่อย:Serrasalmidae
Géry, 1972
สกุล
ปลาปิรันยา (อังกฤษ: Piranha) เป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อย Serrasalmidae ในวงศ์ปลาคาราซิน (Caracidae) โดยทั่วไป ปลาที่ได้ชื่อว่า "ปิรันยา" นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล Pristobrycon, Pygocentrus, Pygopristis และ Serrasalmus แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion ด้วย ส่วนปลาในสกุลอื่นมักไม่นิยมเรียกว่าปิรันยา ถึงแม้จะอยู่ในวงศ์ย่อยนี้ก็ตาม
ปลาปิรันยากินเนื้อเป็นอาหาร มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบในแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้ มีฟันที่แหลมคมกินเนื้อของสัตว์ที่ตกลงไปอยู่ใกล้ที่อยู่ของมันเป็นอาหาร แต่ถ้าไม่มีสัตว์อะไรเลยตกลงไปในที่อยู่ของมันมันก็จะกินปลาในแม่น้ำเป็นอาหาร เป็นปลาที่อันตรายชนิดหนึ่ง ที่ทั่วโลกรู้จักดี ชนิดที่ดุร้ายมาก ได้แก่ ปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereri) ฯลฯ บางประเทศ เช่น ประเทศไทยห้ามนำเข้า "หมายถึงห้ามนำเข้าตัวที่ยังมีชีวิต " เพราะเกรงจะแพร่ลงสู่แหล่งน้ำและขยายพันธุ์ แต่บางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้เลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ ส่วนประเทศไทย ถ้านำเข้ามาในรูปอาหารแช่แข็ง เช่น ปลาปิรันยาแช่แข็ง เพื่อนำมาบริโภคอย่างเช่น ร้านอาหารภัตตาคารหรูในประเทศไทย ถ้าสามารถนำเข้ามาได้ไม่ผิดกฏหมาย
แต่ในพื้นถิ่นแล้ว คนพื้นเมืองนิยมกินปลาปิรันยาเป็นอาหาร และปลาปิรันยาเองก็มักตกเป็นอาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาอะราไพม่า (Arapaima gigas) , นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis) , โลมาแม่น้ำอเมซอน (Inia geoffrensis) และนกกินปลาอีกหลายชนิด
ปลาชนิดอื่นซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาปิรันยา แต่ไม่มีความดุร้ายเท่าและสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ คือ ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ ซึ่งในประเทศไทยถือเป็นปลาเศรษฐกิจและปลาสวยงามด้วย เช่น ปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) และ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) เป็นต้น
Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
ปลาปิรันยา

ปลาจระเข้

ปลาจระเข้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาจระเข้
Alligator gar
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Lepisosteiformes
วงศ์:Lepisosteidae
สกุล:Atractosteus
สปีชีส์:A. spatula
ชื่อวิทยาศาสตร์
Atractosteus spatula
(Lacépède, 1803)
ชื่อพ้อง
Lepisosteus spatula Lacépède, 1803
Atractosteus adamantinus Rafinesque, 1818
ปลาจระเข้ (อังกฤษ: Alligator gar;ชื่อวิทยาศาสตร์:Lepisosteus spatula) เป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มปลาการ์[1] มีปากคล้ายกับจระเข้รูปร่างกลมยาว ตากลมสีดำ บริเวณลำตัวจรดหางคล้ายปลา มีครีบเล็กใต้ท้อง 2 ครีบคู่ ใต้ท้องสีขาว บริเวณปลายหาง ใกล้หางมีครีบใหญ่อีก 2 ครีบ เป็นปลาพื้นเมืองของสหรัฐอเมริกา แถบฟลอริดา แถบลุ่มแม่น้ำมิซิซิปปี้ ขนาดเมื่อโตเต็มวัยประมาณ 350 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 127กิโลกรัมมีอายุยืนยาว [2]

[แก้] อ้างอิง

ปลาแอฟริกันไทเกอร์

ปลาแอฟริกันไทเกอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก สกุลปลาไทเกอร์)
สกุลปลาแอฟริกันไทเกอร์
ชนิด H. vittatus ขนาดเล็กจากแม่น้ำเซมเบซีตอนบน
ชนิด H. goliath ขนาดใหญ่กว่า 5 ฟุต และมีน้ำหนักถึง 45 กิโลกรัม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Characiformes
วงศ์:Alestiidae
สกุล:Hydrocynus
Cuvier, 1816
ชนิด
ดูในเนิ้อหา
สกุลปลาแอฟริกันไทเกอร์ (อังกฤษ: African Tigerfish, ชื่อวิทยาศาสตร์: Hydrocynus) สกุลของปลาน้ำจืด 5 ชนิดที่อยู่ในวงศ์ปลาเตตร้าแอฟริกัน (Alestiidae) ในอันดับปลาคาราซิน ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrocynus (/ไฮ-โดร-ไซ-นัส/) โดยมาจากภาษากรีก คำว่า "hydro" หมายถึง น้ำ บวกกับคำว่า "kyon" ที่หมายถึง สุนัข[1]
เป็นปลากินเนื้อทั้งหมด มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวเพรียวยาวเหมือนตอร์ปิโด เกล็ดมีขนาดใหญ่ มีสีเงินแวววาว และที่ชิ้นเกล็ดจะมีจุดสีเข้ม ทำให้เห็นเป็นลายพาดตามยาวไปตามแนวข้างลำตัวเหนือเส้นข้างลำตัว ทำให้มองดูคล้ายลายของเสือลายพาดกลอน อันเป็นที่มาของชื่อ นอกจากแถบดังกล่าวแล้วส่วนที่ไม่ใช่แถบจะมีสีออกสีเงิน สีขาว และสีเทา ขณะที่บางตัวอาจมีเหลือบสีฟ้า สีเขียว สีส้ม หรือสีเหลืองอ่อนผสมอยู่ด้วย ปลาในสกุลนี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ทั้งหมด ครีบหลังจะอยู่ในระดับเดียวกับ ครีบท้องอาจจะอยู่ข้างหน้าเล็กน้อย ภายในปากมีฟันหนึ่งชุดที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนและเป็นจุดเด่น ซึ่งฟันแต่ละซี่ตั้งอยู่ในเบ้า ระหว่างฟันซี่อื่น ๆ บนขากรรไกร และจะแลเห็นได้ตลอดเวลาแม้แต่เมื่อปิดปากสนิท ขากรรไกรมีความแข็งแรงและทรงพลังมาก อีกทั้งสามารถยืดขยายได้กว้างเพราะมีจุดยึดกับมุมปากอยู่ถึงสองจุด ตาจะถูกคลุมโดยเปลือกตาเกือบทั้งหมด ครีบหางเว้าลึกเป็นสองแฉก
พบในลุ่มแม่น้ำคองโก ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวมากในทวีปแอฟริกาตอนกลาง เป็นปลาล่าเหยื่อที่ล่าได้อย่างรวดเร็ว ดุดัน ไม่แพ้ปลาปิรันยาในลุ่มแม่น้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ แต่ไม่นิยมล่ารวมเป็นฝูง และเคยมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์ได้อีกด้วย โดยที่ชาวพื้นเมืองแอฟริกาได้เรียกปลาสกุลนี้ในภาษาลิงกาลาว่า เอ็มเบ็งกะ (Mbenga) และมีความเชื่อว่าการที่มันล่าและทำร้ายมนุษย์เพราะมีวิญญาณที่ชั่วร้ายสิงสถิตอยู่[2]
มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ H. goliath ที่มีความยาวที่สุดได้ถึง 6 ฟุต และมีน้ำหนักถึง 100 ปอนด์[3]
เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา จัดเป็นปลาที่ตกได้ยากมากจำพวกหนึ่ง[4] เพราะอาศัยในกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว และชอบกระโดด และยังเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ปลาทูน่าเขี้ยวหมา

ปลาทูน่าเขี้ยวหมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาทูน่าเขี้ยวหมา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Perciformes
วงศ์:Scombridae
วงศ์ย่อย:Scombrinae
สกุล:Gymnosarda
Gill, 1862
สปีชีส์:G. unicolor
ชื่อวิทยาศาสตร์
Gymnosarda unicolor
(Rüppell, 1836)
ชื่อพ้อง[2]
  • Gymnosarda nuda (Günther, 1860)
  • Thynnus unicolor Rüppell, 1836
  • Pelamys nuda Günther, 1860
ปลาทูน่าเขี้ยวหมา หรือ ปลาโอฟันหมา (อังกฤษ: Dogtooth tuna, Scaleless tuna; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gymnosarda unicolor) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae)
จัดเป็นปลาโอ หรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง ที่มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Gymnosarda[2] มีรูปร่างเพรียวยาวเป็นทรงกระสวยหรือตอร์ปิโดป้อม ครีบหลังตอนท้ายคล้ายกับของปลาทู ครีบหางเว้าลึก โคนครีบมีสันเล็ก ๆ ผิวเรียบ บริเวณครีบอกมีแถบเกล็ดหนา ครีบอกมีขนาดเล็ก ลำตัวสีเงินอมฟ้า มีลายเส้นสีคล้ำที่ด้านท้าย ด้านท้องสีจาง ครีบสีคล้ำ
มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 100 เซนติเมตร หรือ 1 เมตร โตเต็มที่ได้ถึง 160 เซนติเมตร หรือ 1.6 เมตร[3]
เป็นปลาที่อาศัยอยู่ลำพังเพียงตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในระดับกลางน้ำในทะเลเปิดในแนวปะการังที่ค่อนข้างลึก หรือข้างเกาะ พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้เฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน เป็นปลาที่พบได้น้อย
นิยมตกเป็นเกมกีฬา และบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ[4]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. ^ 2.0 2.1 จาก itis.gov (อังกฤษ)
  3. ^ Dogtooth Tuna, Gymnosarda unicolor (Ruppell, 1838)
  4. ^ หน้า 169, คู่มือปลาทะเล โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (ตุลาคม, 2551) ISBN 978-974-484-261-9
Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
ปลาทูน่าเขี้ยวหมา

ปลาอโรวาน่าดำ

ปลาอะโรวาน่าดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะโรวาน่าดำ
ปลาวัยใหญ่
ลูกปลาขนาดเล็ก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Osteoglossiformes
วงศ์:Osteoglossidae
สกุล:Osteoglossum
สปีชีส์:O. ferreirai
ชื่อวิทยาศาสตร์
Osteoglossum ferreirai
Kanazawa, 1966
ปลาตะพัดอเมริกาใต้สีดำ หรือที่นิยมเรียกว่า ปลาอะโรวาน่าดำ (อังกฤษ: Black Arowana; ชื่อวิทยาศาสตร์: Osteoglossum ferreirai) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) เป็นปลาที่เพิ่งค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1966 ซึ่งเป็นปลาที่ค้นพบใหม่ล่าสุดในวงศ์นี้ โดยแหล่งที่ค้นพบครั้งแรกอยู่ในแม่น้ำริโอเนโกร บรานโก ที่ประเทศบราซิล มีลำตัวยาวลึกและแบนข้างมาก ลำตัวส่วนท้ายเรียวเล็กกว่าส่วนหัวมากจนเห็นได้ชัด ครีบท้องแหลมยาว ครีบก้นและครีบหลังมีความยาวไปจรดถึงครีบหาง เกล็ดมีสีเงินอมดำ ครีบหลังและครีบท้องในบางตัวออกสีเหลืองอ่อน ๆ หรือบางตัวอาจเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งในตัวที่มีสีออกน้ำเงินเห็นชัดเจนมากจะถือเป็นความหลากหลายทางสายพันธุ์จะถูกเรียกว่า "บลูอะโรวาน่า" ขนาดเมื่อโตเต็มที่ได้ราว 75 เซนติเมตร นับว่าเป็นปลาที่มีขนาดเล็กที่สุดในวงศ์นี้
เมื่อยังเล็ก จะมีลายแถบสีดำสลับเหลืองคาดตามความยาวลำตัว จึงเป็นที่มาของชื่อ
สถานภาพของปลาอะโรวาน่าดำในปัจจุบัน ติดอยู่ในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส เนื่องจากถูกจับไปเป็นปลาตู้สวยงามจนปริมาณในธรรมชาติเหลือน้อยลงจนใกล้สูญพันธุ์ อีกทั้งปลาชนิดนี้ยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้เหมือนปลาอะโรวาน่าชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน

[แก้] ดูเพิ่ม

Commons

ปลากระพงแดง

ปลากะพงแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากะพงแดง
กะพงแดง
ภาพวาดปลากะพงแดงในวัยใหญ่เทียบกับปลาวัยอ่อน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Perciformes
วงศ์:Lutjanidae
สกุล:Lutjanus
สปีชีส์:L. argentimaculatus
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lutjanus argentimaculatus
Forsskål, 1775
ปลากะพงแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lutjanus argentimaculatus, อังกฤษ: Mangrove jack, Mangrove red snapper) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยอยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ อยู่ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) รูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโตแหลมยาว มีส่วนหัวและลำตัวที่ยาวกว่า มีฟันเขี้ยวแหลมคมโง้งเห็นชัดเจน 2 ซี่ในปาก ริมฝีปากหนา คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสากมือ เส้นข้างลำตัวติดต่อกันเป็นแถวยาวโค้งอยู่บริเวณค่อนไปทางลำตัวด้านบน ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน พื้นลำตัวสีแดงหรือแดงสด พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูงในป่าชายเลน, ปากแม่น้ำ หรือบริเวณทะเลชายฝั่ง
ลูกปลาขนาดเล็กจะฟักตัวและเติบโตในบริเวณน้ำกร่อยแถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ ลำตัวจะเป็นสีขาวสลับลายพาดสีดำคล้ายปลานิล อาหารได้แก่ สัตว์น้ำ, ปลา, กุ้ง ที่มีขนาดเล็กกว่า
เป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว เป็นปลาที่มีรสชาติดี นิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ และนิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
ปลากะพงแดง ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "กะพงสีเลือด" หรือ "กะพงแดงป่าชายเลน" เป็นต้น[1]

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons

ปลาลิ้นหมานำจืด

ปลาลิ้นหมาน้ำจืด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลิ้นหมาน้ำจืด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Pleuronectiformes
วงศ์:Soleidae
สกุล:Brachirus
สปีชีส์:B. panoides
ชื่อวิทยาศาสตร์
Brachirus panoides
(Bleeker, 1851)
ชื่อพ้อง
  • Euryglossa panoides Bleeker, 1851
  • Synaptura panoides Bleeker, 1851
  • Anisochirus panoides Gìnther, 1862
  • Chabanaudetta panoides Whitley, 1931
ปลาลิ้นหมาน้ำจืด (อังกฤษ: Freshwater sole, River sole) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาลิ้นหมา (Soleidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brachirus panoides มีรูปร่างเรียวเป็นรูปไข่ ตาเล็กอยู่ห่างกัน ปากเล็กมีรูจมูกเห็นเป็นท่อชัดเจน ครีบมีลักษณะเชื่อมต่อกันเกือบทั้งลำตัว ครีบอกเล็กมาก มีเส้นข้างลำตัวตรงตลอดแนวลำตัว และมีแขนงสีล้ำตัดเป็นแนวดิ่ง 6-7 เส้น ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีแต้มใหญ่สีคล้ำหลายแต้มตามบริเวณใกล้กับครีบหลังและครีบก้น ครีบมีขอบสีจาง มีจุดประสีคล้ำกระจาย ลำตัวด้านล่างสีขาว ขนาดลำตัวประมาณ 15 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 30 เซนติเมตร
อาศัยอยู่บริเวณพื้นน้ำ ว่ายน้ำโดยขนานกับพื้นดินและพลิ้วตัวขึ้นมาแนวขึ้นลง สามารถมุดลงใต้ทรายได้เร็วเวลาตกใจ โดยปกติมักจะไม่เคลื่อนไหว อาหารได้แก่สัตว์น้ำหน้าดินขนาดเล็ก เช่น ไส้เดือนน้ำ, ลูกกุ้ง เป็นต้น ปลาลิ้นหมาน้ำจืดเป็นปลาที่มักอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่ค่อยลอยตัวขึ้นเหนือน้ำ ดังนั้น คนสมัยก่อนหากเห็นปลาลิ้นหมาลอยตัวขึ้นมาเหนือน้ำ จะเก็บน้ำใส่ตุ่ม เพราะเป็นสัญญาณบ่งชี้แล้วว่าน้ำจะเสีย ลิ้นหมาน้ำจืดพบในแม่น้ำตอนล่างใกล้กับปากแม่น้ำของทุกภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง ไม่พบในแม่น้ำโขง บริโภคโดยปรุงสดและทำปลาแห้ง อีกทั้งเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ด้วย แต่ปัจจุบันหาได้ยากขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทางสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาทได้ทำการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้อยู่
ซึ่งปลาลิ้นหมาน้ำจืดมีชื่อเรียกที่แตกต่างและซ้ำซ้อนกันไปเช่น "ใบไม้", "ลิ้นควาย" หรือ "เป" ในภาษาอีสาน เป็นต้น[1]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (กรุงเทพ, พ.ศ. 2544) ISBN 974-475-655-5

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ปลาการ์ตูนแดง

ปลาการ์ตูนแดง



จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



ปลาการ์ตูนแดง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Perciformes
วงศ์:Pomacentridae
วงศ์ย่อย:Amphiprioninae
สกุล:Premnas
Cuvier, 1816
สปีชีส์:P. biaculeatus
ชื่อวิทยาศาสตร์
Premnas biaculeatus
(Bloch, 1790)
ชื่อพ้อง
  • Abudefduf biaculeatus (Bloch, 1790)
  • Holocentrus sonnerat Lacépède, 1802
  • Lutianus trifasciatus Schneider in Bloch and Schneider, 1801
  • Premnas epigrammata Fowler, 1904
  • Premnas gibbosus Castelnau, 1875
  • Premnas semicinctus Cuvier in Cuvier and Valenciennes, 1830
  • Premnas unicolor Cuvier, 1829
  • Sargus ensifer Gronow in Gray, 1854
ปลาการ์ตูนแดง หรือ ปลาการ์ตูนแก้มหนาม (อังกฤษ: Maroon clownfish, Spine-cheeked clownfish) เป็นปลาน้ำเค็มขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Premnas biaculeatus จัดอยู่ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) วงศ์ย่อยปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) จัดเป็นปลาการ์ตูนเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Premnas ซึ่งแตกต่างไปจากปลาการ์ตูนชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในสกุล Amphiprion
สิ่งที่ทำให้ปลาการ์ตูนแดงมีความแตกต่างจากปลาการ์ตูนชนิดอื่น ๆ คือ บริเวณแก้มหรือแผ่นปิดเหงือกมีหนามยื่นออกมาจากตรงกลาง อยู่เหนือริมฝีปากเล็กน้อยขึ้นไปจนถึงบริเวณใต้ดวงตา ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า
มีลักษณะลำตัวแบนกว้าง มีโครงสร้างที่ค่อนข้างใหญ่กว่าปลาการ์ตูนชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะปลาเพศเมียที่โดยปกติจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้อยู่แล้ว และมีสีที่คล้ำกว่า ครีบอกมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีแดงก่ำ บริเวณแผ่นปิดเหงือก กึ่งกลางลำตัว และโคนหาง มีแถบสีขาวพาด สีของปลาการ์ตูนแดงค่อนข้างหลากหลาย ในปลาขนาดเล็กจะมีตั้งแต่สีแดงสดจนถึงแดงก่ำ และจะค่อย ๆ เข้มขึ้นจนปลาเจริญเติบโตเต็มที่ ขณะที่บางตัวในขนาดเล็กจะมีแต้มสีดำบริเวณตามครีบต่าง ๆ และจะจางหายไปเมื่อปลาโตขึ้น
จัดเป็นปลาการ์ตูนที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยมีความยาวเต็มที่ประมาณ 17 เซนติเมตร มีอุปนิสัยก้าวร้าวห่วงถิ่นค่อนข้างมาก
พบแพร่กระจายพันธุ์ในทะเลเขตอินโด-แปซิฟิกจนถึงเกาะไต้หวัน เช่น เกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย และเกรต แบร์ริเออร์ รีฟ ในออสเตรเลีย เป็นต้น โดยจะอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor เพียงชนิดเดียวเท่านั้น
ซึ่งปลาการ์ตูนแดงในเริ่มแรกที่มีการค้นพบและทำการอนุกรมวิธาน ถูกเข้าใจว่าเป็นปลาในวงศ์เดียวกับปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) โดยถูกจับได้ในปี ค.ศ. 1790 ที่อินดีสตะวันออก ซึ่งก็คือ ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน หลังจากนั้นเมื่อมีการศึกษาเพิ่มเติมขึ้น ก็ถูกเปลี่ยนไปใช้สกุลใหม่และชื่อชนิดใหม่ไปมา จนกระทั่งมาใช้ชื่อสกุลอย่างในปัจจุบัน เมื่อปี ค.ศ. 1817 และชื่อเก่าก็กลายเป็นชื่อพ้องหรือยกเลิกใช้ไป
นอกจากนี้แล้ว ปลาการ์ตูนแดงที่อาศัยอยู่บริเวณเกาะสุมาตรา จะมีอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่มีลายสีเหลืองเจือด้วยสีฟ้าอ่อนแทนด้วยแถบสีขาว และแถบสีเหลืองนี้จะไม่จางหายไปเมื่อปลาที่พบในแหล่งอื่น ตรงกันข้าม เมื่อปลามีอายุมากขึ้นแถบดังกล่าวจะมีสีเข้มขึ้นด้วย ซึ่งปลาในลักษณะนี้ถูกเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามว่า "ปลาการ์ตูนทอง" ซึ่งในปี ค.ศ. 1904 ปลาการ์ตูนทองเคยถูกแยกออกเป็นชนิดใหม่ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Premnas epigrammata ด้วย
นอกจากนี้แล้วในธรรมชาติ ยังพบปลาการ์ตูนบางตัวที่คาดว่าเป็นลูกผสมระหว่างปลาการ์ตูนแดงกับปลาการ์ตูนมะเขือเทศ (Amphiprion frenatus) ด้วยในบริเวณทะเลฟิลิปปิน โดยมีสีสันเหมือนปลาการ์ตูนแดงทุกประการ แต่มีครีบต่าง ๆ สั้นกว่ารวมถึงหนามบริเวณแก้มด้วย
อนึ่ง ปลาการ์ตูนแดงในตู้เลี้ยงจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากธรรมชาติ คือ ยอมรับดอกไม้ทะเลได้มากชนิดขึ้น เช่น Macrodactyla doreensis, Heteractis malu, H. magnifica, Crytodendrum adhaesivum แต่กระนั้นก็ขึ้นอยู่กับนิสัยปลาแต่ละตัวด้วย[1]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Premnas biaculeatus "การ์ตูนแก้มหนาม" โดย ภวพล หน้า 84-88 นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ฉบับเดือนกันยายน 2010
Commons