วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาสอด

ปลาสอด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาสอด
ปลาสอดมิดไนท์ตัวผู้ (Poecilia latipinna var.)
ปลาเซลฟิน (P. latipinna)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Cyprinodontiformes
วงศ์:Poeciliidae
Garman, 1895
สกุล
วงศ์ปลาสอด (วงศ์: Poeciliidae) วงศ์ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยจำพวกหนึ่ง มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า "มอลลี่" (Molly) และมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "ปลาสอด" ซึ่งเข้าใจว่าคงเพี้ยนมาจากคำว่า sword ที่หมายถึง ดาบ อันเป็นลักษณะของปลายหางของปลาในวงศ์นี้บางสกุลที่คล้ายกับวงดาบ มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่สหรัฐอเมริกาภาคตะวันออก, อเมริกากลาง, จนถึงทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยังพบในบางส่วนของทวีปแอฟริกาทางตอนใต้จนถึงเกาะมาดากัสการ์ด้วย
เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มีพฤติกรรมหากินอยู่ตามผิวน้ำ ตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะที่แตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน โดยตัวผู้มีรูปร่างเล็กกว่า แต่มีสีสันและครีบต่าง ๆ ยาวกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวโตกว่า ท้องอูมกว่า แต่ครีบและหางสั้นกุดกว่า รวมทั้งสีสันซีดกว่าในบางชนิดด้วย นอกจากนี้ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของปลาวงศ์นี้ คือ เป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว ออกลูกเป็นตัว โดยออกลูกได้ครั้งละ 2-300 ตัว
เป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาสวยงาม มีหลายชนิดในหลายสกุล เช่น ปลาหางนกยูง (Poecilia reticul

ปลากัด

ปลากัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากัด
ปลากัดลูกทุ่งภาคกลาง ตัวผู้
การพองตัว พองเหงือก เบ่งครีบเข้าต่อสู้กันของปลากัดหม้อตัวผู้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Perciformes
วงศ์:Osphronemidae
วงศ์ย่อย:Macropodinae
สกุล:Betta
สปีชีส์:B. splendens
ชื่อวิทยาศาสตร์
Betta splendens
Regan, 1910
ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง (อังกฤษ: Siamese fighting fish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Betta splendens) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง
มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

เนื้อหา

[แก้] ปลากัด

เป็นปลาที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีมาแต่โบราณ โดยปลากัดสายพันธุ์ดั้งเดิมจากธรรมชาติมักเรียกติดปากว่า "ปลากัดทุ่ง" หรือ "ปลากัดลูกทุ่ง" หรือ "ปลากัดป่า" จากพฤติกรรมที่ชอบกัดกันเองแบบนี้ ทำให้นิยมนำมาเลี้ยงใช้สำหรับกัดต่อสู้กันเป็นการพนันชนิดหนึ่งของคนไทย และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์และความสามารถในชั้นเชิงการกัดจนถึงปัจจุบัน จนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทยและเป็นที่รับรู้ของชาวต่างชาติในชื่อ "Siamese fighting fish"
ในปัจจุบัน ปลากัดภาคกลางได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีสีสันที่สวยงามและหลากหลายขึ้น เรียกว่า "ปลากัดหม้อ" นิยมเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กและแคบ เช่น ขวดโหล ขวดน้ำอัดลม เป็นต้น อีกทั้งยังได้พัฒนาสายพันธุ์ในแง่ของความเป็นปลาสวยงามอีกหลายสายพันธุ์ เช่น ปลากัดจีน ที่มีเครื่องครีบยาว ปลากัดแฟนซี ที่มีสีสันหลากหลายสวยงาม ปลากัดคราวน์เทล หรือ ปลากัดฮาร์ฟมูน เป็นต้น

[แก้] สายพันธุ์ปลากัด

[แก้] ปลากัดจีน

เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบที่ยาวรุ่ยร่ายสีฉูดฉาดเหมือนงิ้วจีน ปลากัดจีนเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาลูกหม้อ โดยผสมคัดพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่มีครีบและหางยาวขึ้น ความยาวของครีบหางส่วนใหญ่จะยาวเท่ากับ หรือมากกว่าความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน และมีการพัฒนาให้ได้สีใหม่ๆ และสวยงาม โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวไทย ซึ่งได้พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จมาช้านาน ก่อนที่ปลากัดจะถูกนำไปเลี้ยงในต่างประเทศ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ว่า การพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ปลากัดชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามแพร่หลายไปทั่วโลก และได้มีการนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง จนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ๆ ออกมาอีกมากมาย

[แก้] ปลาป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง

เป็นปลากัดที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามท้องนา และหนองบึง เป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่มีลักษณะเด่นมากนัก ส่วนมากครีบ และหางมีสีแดงเกือบตลอด มีประสีดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีแต้มสีเขียวอ่อน ๆ เรียงต่อกันเป็นเส้นสีเขียว ๆ ที่ครีบหลัง เวลาถอดสี ทั้งตัวและครีบจะเป็นสีน้ำตาลด้านๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ในปัจจุบันคำว่า "ปลาป่า" หมายความรวมถึงปลากัดพื้นเมืองภาคอีสาน และปลากัดพื้นเมืองภาคใต้ด้วย

[แก้] ปลาสังกะสี และ ปลากัดลูกหม้อ

เป็นปลากัดที่นักเพาะพันธุ์ปลาได้นำมาคัดสายพันธุ์ โดยมุ่งหวังจะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่าของหลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบ สุวรรณนคร) ซึ่งเป็นนักเลงปลาเก่าเชื่อว่า ปลาสังกะสีและปลาลูกหม้อน่าจะได้รับการพัฒนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2430 โดยท่านจำได้ว่าก่อนหน้านั้นยังต้องจับปลาป่ามากัดพนันกันอยู่ ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่อาศัยอยู่ตามรูปูในฤดูแล้ง มาขังไว้ในโอ่ง และเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝน ก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่นำมาเลี้ยงไว้ไม่ได้ การเล่นปลาขุดยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ พ.ศ. 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกเรียกว่า "ปลาสังกะสี" หรือ "ปลากัดสังกะสี" ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงาม ก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมาในชุดต่อไป จะได้ปลาที่เรียกว่า "ปลาลูกหม้อ" หรือ "ปลากัดหม้อ"
ที่เรียกว่า ปลาสังกะสี สันนิษฐานว่าน่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ขาดง่ายเมื่อถูกกัดเหมือนปลาป่า ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ มีสีสันลักษณะต่างจากปลาป่า แต่ส่วนมากมีชั้นเชิงและความอดทนในการกัดสู้ปลาลูกหม้อไม่ได้
ส่วนที่เรียกว่า ปลาลูกหม้อ นั้น น่าจะมาจากการนำหม้อดินมาใช้ในการเพาะและอนุบาลปลากัดในระยะแรกๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ที่สร้างมาโดยนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้ และมีสีสันที่สวยงามตามความพอใจของเจ้าของ ปลาลูกหม้อมีรูปร่างหนาใหญ่กว่าปลาป่าและปลาสังกะสี ส่วนมากสีจะเป็นสีน้ำเงิน สีแดง สีเทา สีเขียว สีคราม หรือสีแดงปนน้ำเงิน ครีบหางอาจเป็นรูปมนป้าน หรือรูปใบโพธิ์ การเล่นปลากัดในสมัยก่อนนั้น ปลาลูกหม้อแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ "ลูกแท้" และ "ลูกสับ" ลูกแท้หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากครอกเดียวกัน ส่วนลูกสับหมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากต่างครอกกัน

[แก้] ปลากัดหางสามเหลี่ยม หรือ ปลากัดเดลตา (Delta)

เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดครีบยาว หรือปลากัดจีน โดยพัฒนาให้หางสั้นเข้าและแผ่กว้างออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบครีบหางกางทำมุม 45 - 60 องศา กับโคนหาง และต่อมาได้พัฒนาให้ครีบแผ่ออกไปกว้างมากยิ่งขึ้น เรียก "ซูเปอร์เดลตา" ซึ่งมีหางแผ่กางใหญ่กว่าปกติ จนขอบครีบหางด้านบนและล่างเกือบเป็นเส้นตรง

[แก้] ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก หรือ ฮาล์ฟมูน (Halfmoon)

เป็นปลากัดที่มีหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบหางจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม 180 องศา ได้มีแนวคิดและความพยายามในการที่จะพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ในประเทศเยอรมนี แต่เพิ่งประสบผลสำเร็จเมื่อราว พ.ศ. 2530 โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวฝรั่งเศสและชาวเยอรมัน ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกมีลักษณะที่สำคัญ คือ ครีบหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบด้านหน้าจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม 180 องศา ครีบด้านนอกเป็นขอบเส้นโค้งของครึ่งวงกลม ก้านครีบหางแตกแขนง 2 ครั้ง เป็น 4 แขนง หรือมากกว่า ปลาที่สมบูรณ์จะต้องมีลำตัวและครีบสมส่วนกัน โดยลำตัวต้องไม่เล็กเกินไป ครีบหางแผ่ต่อเนื่องหรือซ้อนทับกับครีบหลังและครีบก้น จนเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน ขอบครีบหลังโค้งมนเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม เส้นขอบครีบทุกครีบโค้งรับเป็นเส้นเดียวกัน (ยกเว้นครีบอก) ปลายหางคู่ที่แยกเป็น 2 แฉกจะต้องซ้อนทับและโค้งมนสวยงาม ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกที่แท้จริงจะต้องมีขอบครีบหางแผ่ทำมุม 180 องศา ได้ตลอดไป ถึงแม้ปลาจะมีอายุมากขึ้นก็ตาม

[แก้] ปลากัดหางมงกุฎ หรือ ปลากัดคราวน์เทล (Crowntail)

เป็นปลากัดที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใน พ.ศ. 2543 โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวสิงคโปร์ เป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่ที่มีหางจักเป็นหนามเหมือนมงกุฎ และเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลากัดชนิดนี้คือ ก้านครีบจะโผล่ยาวออกไปจากปลายหาง ลักษณะดูเหมือนหนาม ซึ่งอาจยาวหรือสั้นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับลักษณะการแยกของปลายหนาม และการแยกการเว้าโคนหนามก็มีหลายรูปแบบ ปลากัดหางมงกุฎที่สมบูรณ์จะมีครีบหางแผ่เต็มซ้อนทับได้แนวกับครีบอื่น ๆ และส่วนของหนามมีการจัดเรียงในรูปแบบที่สวยงามสม่ำเสมอ

[แก้] ปลากัดประเภทอื่น

นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีปลากัดประเภทอื่น ๆ เช่น "ปลากัดเขมร" ที่ใช้เรียกปลากัดที่มีสีลำตัวเป็นสีอ่อนหรือเผือก และมีครีบสีแดง "ปลากัดหางคู่" ซึ่งครีบหางมีลักษณะเป็น 2 แฉก อาจแยกกันอย่างเด็ดขาด หรือที่ตรงโคนยังเชื่อมติดกันอยู่ก็ได้ รวมทั้งปลากัดที่เรียกชื่อตามรูปแบบสี เช่น "ปลากัดลายหินอ่อน”" และ "ปลากัดลายผีเสื้อ"

[แก้] อัลบั้มภาพ

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  • หนังสือสารานุกรมปลาไทย โดย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล (กรุงเทพ, พ.ศ. 2540) ISBN 978-974-89900-2-6
Commons

ปลาไหลมอเรย์

ปลาไหลมอเรย์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาไหลมอเรย์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีน-ปัจจุบัน
ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ (Gymnothorax javanicus)
ภาพแสดงให้เห็นถึงกรามของปลาไหลมอเรย์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Anguilliformes
วงศ์:Muraenidae
สกุล
ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง
ปลาไหลมอเรย์ (อังกฤษ: Moray eel, Moray; วงศ์: Muraenidae) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muraenidae อยู่ในอันดับปลาไหล (Anguilliformes)
มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลทั่วไป ไม่มีครีบอก ครีบหลังเชื่อมต่อกับครีบก้นและครีบหาง โดยมีจุดเด่นร่วมกันคือ มีส่วนปากที่แหลม ไม่มีเกล็ดแต่มีหนังขนาดหนาและเมือกลื่นแทน เหงือกของปลาไหลมอเรย์ยังลดรูป เป็นเพียงรูเล็ก ๆ อยู่ข้างครีบอกที่ลดรูปเหมือนกัน เลยต้องอ้าปากช่วยหายใจเกือบตลอดเวลา คล้ายกับการที่อ้าปากขู่ นอกจากนี้แล้วภายในกรามยังมีกรามขนาดเล็กซ้อนกันอยู่ข้างใน ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วงคอหอย แต่จะออกมาซ้อนกับกรามใหญ่เมื่อเวลาอ้าปาก ใช้สำหรับจับและขบกัดกินอาหารไม่ให้หลุด
ปลาไหลมอเรย์เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยการล่าเหยื่อด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางกลิ่น ที่เป็นแท่งเล็ก ๆ ยื่นอยู่ตรงปลายปาก 2 แท่ง คล้ายจมูก ซึ่งอวัยวะส่วนนี้มีความไวต่อกลิ่นมาก โดยเฉพาะกลิ่นคาวแบบต่าง ๆ เช่น กลิ่นเลือดหรือกลิ่นของสัตว์ที่บาดเจ็บมีบาดแผล อาหารได้แก่ ปลาทั่วไป รวมถึงสัตว์ที่มีกระดองแข็งเช่น กุ้ง, กั้ง, ปู รวมถึงหมึกด้วย
โดยปกติแล้วปลาไหลมอเรย์จะอาศัยอยู่ตามโพรงหินหรือซอกปะการังในแนวปะการัง โดยยื่นแต่เฉพาะส่วนหัวโผล่ออกมาราว 1/4 ของความยาวลำตัว พร้อมกับอ้าปากส่ายหัว เพื่อป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัยและหาเหยื่อ ที่จะออกมาว่ายน้ำนั้นจะเป็นช่วงเวลากลางคืนที่หาอาหาร
ปลาไหลมอเรย์มีกรามที่แข็งแรงและฟันที่แหลมคม แม้จะมีหน้าตาน่ากลัว แต่ไม่ใช่เป็นปลาที่ดุร้าย กลับกันกลับเป็นปลาที่รักสงบ แต่จะจู่โจมใส่ผู้ที่บุกรุก โดยหลายครั้งที่นักประดาน้ำไปเผลอรบกวนโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็อาจถูกกัดเป็นแผลเหวอะหวะถึงขั้นนิ้วขาดได้ เพราะฟันที่แหลมคมและการกัดที่ไม่ปล่อย และอีกช่วงที่ปลาไหลมอเรย์จะดุร้าย คือ ในฤดูผสมพันธุ์ [1]
ปลาไหลมอเรย์ มีทั้งหมดราว 70 ชนิด พบในทะเลเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก ส่วนใหญ่มีสีสันและลวดลายสวยงามแตกต่างกันออกไปตามแตค่ละชนิดหรือสกุล แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ย่อย ในบางชนิดที่มีขนาดเล็ก จะไม่ความยาวไม่เกิน 2 ฟุตและอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม[2] ขณะที่ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ (Gymnothorax javanicus) ยาวได้ถึง 3 เมตร น้ำหนัก 36 กิโลกรัม[3]

[แก้] การจำแนก

[แก้] อ้างอิง

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
วงศ์ปลาไหลมอเรย์

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ปลาสะแงะ

ปลาสะแงะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาสะแงะ
สายพันธุ์ย่อย Anguilla bengalensis bengalensis ที่อินเดีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Anguilliformes
วงศ์:Anguillidae
สกุล:Anguilla
สปีชีส์:A. bengalensis
Subspecies:A. b. bengalensisA. b. labiata
ชื่อวิทยาศาสตร์
Anguilla bengalensis
Gray, 1831
ชื่อพ้อง
  • Muraena bengalensis Gray, 1831
ปลาสะแงะ (อังกฤษ: Bengal freshwater eel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anguilla bengalensis) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายปลาไหล จัดอยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae) จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตูหนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย โดยสามารถยาวได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร ในตัวเต็มวัยครีบอกมีสีจาง ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ลำตัวด้านหลังมีสีเทาคล้ำอมเหลืองและมีประสีจางและคล้ำผสมกันคล้ายกับลายหินอ่อน ท้องมีสีน้ำตาลอมเหลือง พบมากในแม่น้ำสาละวินและสาขาในจังหวัดตาก และ แม่ฮ่องสอน และยังสามารถพบได้เป็นครั้งคราวในแม่น้ำของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ต่างประเทศพบได้ในบริเวณแม่น้ำชายฝั่งของประเทศอินเดีย, พม่า และทวีปแอฟริกาแถบตะวันออก
ปลาสะแงะ มีบันทึกว่าพบครั้งแรกและสร้างความฮือฮาให้กับผู้พบเห็น คือ มีผู้จับได้ในคลองบางกะปิที่กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2469 ด้วยความใหญ่โตของลำตัว ทำให้บางคนเชื่อว่า เป็นปลาไหลไฟฟ้าบ้าง บางคนก็คิดว่าเป็นพญานาค หรือมังกร โดยปลาตัวนั้นมีขนาดความยาว 65 เซนติเมตร
ว่ากันว่า ปลาชนิดนี้สามารถส่งเสียงร้องคล้ายเสียงเด็กทารกได้ด้วยในเวลากลางคืน
ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกและแถบภาคตะวันตกไปจนถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีชื่อพื้นเมืองภาษากะเหรี่ยงว่า "หย่าที"
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย A. b. bengalensis พบได้ในทวีปเอเชีย และ A. b. labiata พบได้ในทวีปแอฟริกา
เป็นปลาที่พบน้อย หายาก เนื้อมีรสชาติอร่อย ราคาแพง และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ จาก IUCN (อังกฤษ)

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ปลากดคัง

ปลากดคัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากดคัง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Siluriformes
วงศ์:Bagaridae
สกุล:Hemibagrus
สปีชีส์:H. wyckioides
ชื่อวิทยาศาสตร์
Hemibagrus wyckioides
(Fang & Chaux, 1949)
ชื่อพ้อง
  • Macrones wyckioides Fang & Chaux, 1949
  • Mystus wyckioides (Fang & Chaux, 1949)
  • Mystus aubentoni Desoutter, 1975
ปลากดคัง (อังกฤษ: Asian Redtail Catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus wyckioides อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae) ที่มีขนาดโตเต็มที่ราว 1.5 เมตร หนักได้ถึง 100 กิโลกรัม แต่ที่พบโดยเฉลี่ยจะมีขนาดประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร ลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้าหรือเขียวมะกอก ท้องสีจาง ครีบหางและครีบอื่น ๆ มีสีแดงสดหรือสีส้มสด ไม่มีแถบขาวบนขอบครีบหางส่วนบนเหมือนปลากดชนิดอื่น ๆ พบในแม่น้ำของไทยทุกภาค และในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ นิยมนำมาบริโภคโดยการปรุงสด ลวก จิ้ม หรือยำ มีราคาค่อนข้างแพง มีการเพาะเลี้ยงเป็นกระชังอยู่ริมแม่น้ำสายใหญ่บางสาย และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
ปลากดคังมีชื่อเรียกอื่น อีกเช่น "ปลากดแก้ว" "ปลากดเขี้ยว" เป็นต้น

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ปลาบึก

ปลาบึก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาบึก
ปลาที่ถูกจับได้ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย
ในตู้เลี้ยงขนาดใหญ่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Siluriformes
วงศ์:Pangasiidae
สกุล:Pangasianodon
Chevey, 1931
สปีชีส์:P. giagas
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pangasianodon gigas
(Chevey, 1931)
ชื่อพ้อง
  • Pangasius gigas
  • Pangasius paucidens
ปลาบึก (อังกฤษ: Mekong Giant Catfish, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาว เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ปัจจุบัน IUCN จัดปลาบึกอยู่ในกลุ่ม Critically Endangered ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก
ปลาบึกถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pangasinodon[1] ลักษณะภายนอกที่สามารถแยกแยะปลาบึกออกจากปลาในสกุล Pangasius ซึ่งเป็นปลาในสกุลที่ใกล้เคียงที่สุด ได้แก่ลักษณะของฟันและหนวด ปลาบึกไม่มีฟันและเกือบจะไม่มีหนวด โดยที่ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไป และตาซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ามุมปากเมื่อมองจากด้านหน้าตรง ๆ จะไม่เห็น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้หากินตามพื้นน้ำ อีกทั้งปลาบึกมีซี่กรองเหงือกเล็กกว่า และ ปลายถุงลมจะลงถึงบริเวณช่วงท้องไม่เกินครีบก้น อีกทั้งความกว้างของปากและส่วนหัวของปลาบึกก็มีมากกว่า
อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ตะไคร่น้ำ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้ สามารถโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150-200 กิโลกรัม ใน 5 ปี ปลาที่หนักที่สุดเท่าที่เคยจับได้เป็นตัวเมีย (บางรายงานระบุผิดว่าเป็นตัวผู้) ยาว 2.7 เมตร และหนัก 293 กิโลกรัม (646 ปอนด์) เจ้าหน้าที่กรมประมงสามารถรีดไข่ได้สำเร็จแต่ปลาตัวนี้ก็ตายก่อนที่จะปล่อยกลับธรรมชาติ
ในธรรมชาติยังไม่มีผู้พบปลาวัยอ่อน ปลาบึกเป็นปลาที่อพยพว่ายน้ำจากแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีน เพื่อที่จะไปผสมพันธุ์และวางไข่ที่ทะเลสาบเขมร โดยฤดูกาลที่ปลาอพยพมานั้น ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะถือว่าเป็นประเพณีจับปลาบึก โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
ปลาบึกถือเป็นอาหารที่ราคาสูงในประเทศลาว ในอดีตมีการประกอบพิธีกรรมร่วมกับการจับปลาชนิดนี้ ซึ่งมีการจับเพียงครั้งเดียวต่อปี และเนื้อปลาก็พบเห็นได้น้อยตามตลาด นอกจากเนื้อแล้ว ตับและไข่ปลาหมักเป็นอาหารรสชาติดี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
ปลาบึกมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ไตรราช"
ปลาบึกที่มีขายในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการผสมเทียม โดยกรมประมงสามารถผสมเทียมและได้ลูกออกมานำไปปล่อยไปในแหล่งน้ำหลายแห่งในประเทศ อาทิ เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา[2], บ่อน้ำภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม[3] เป็นต้น

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น