วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปลากระเบนราหู

ปลากระเบนราหูน้ำจืด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากระเบนราหูน้ำจืด
ปลาขนาดเล็กที่ถูกพักเตรียมส่งขายเป็นปลาสวยงาม
ปลาขนาดใหญ่ถูกจับได้ที่แม่น้ำโขงขนาดกว้าง 4.2 เมตร
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Chondrichthyes
ชั้นย่อย:Elasmobranchii
อันดับใหญ่:Batoidea
อันดับ:Myliobatiformes
วงศ์:Dasyatidae
สกุล:Himantura
สปีชีส์:H. chaophraya
ชื่อวิทยาศาสตร์
Himantura chaophraya
Mongkolprasit & Roberts, 1990
ปลากระเบนราหู (อังกฤษ: Giant freshwater whipray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลากระเบนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากปลากระเบนแมนตา (Manta birostris) ที่พบได้ในทะเล โดยสามารถหนักได้ถึง 600 กิโลกรัม กว้างได้ถึง 2.5-3 เมตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura chaophraya เป็นปลากระเบนที่อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) ซึ่งเป็นปลากระเบนชนิดที่มีหางเรียวยาวเหมือนแส้ ได้ชื่อว่า "ราหู" เนื่องจากขนาดลำตัวที่ใหญ่เหมือนราหูอมจันทร์ตามคติของคนโบราณ มีลักษณะส่วนปลายหัวแหลม ขอบด้านหน้ามนกลมคล้ายใบโพ ลักษณะตัวเกือบเป็นรูปกลม ส่วนหางยาวไม่มีริ้วหนัง มีเงี่ยงแหลมที่โคนหาง 2 ชิ้น ซึ่งในปลาขนาดใหญ่อาจยาวได้ถึง 8-10 นิ้ว เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกขึ้นได้ กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ด้านบนของปีกและตัวเป็นสีเทาหรือน้ำตาลนวล หางสีคล้ำ ด้านล่างของตัวมีสีขาวนวล ที่ขอบปีกด้านล่างเป็นด่างสีดำ อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ จนถึงบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ พบครั้งแรกในแม่น้ำเจ้าพระยา จึงถูกตั้งชื่อชนิด ว่า "เจ้าพระยา" (chaophraya) และยังพบในแม่น้ำสายอื่น ๆ เช่น แม่น้ำแม่กลอง, บางปะกง, แม่น้ำโขง, บอร์เนียว, นิวกินี จนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ
โดยปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ และอาจมีน้ำหนักที่มากกว่าได้ถึง 80 เท่า เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาที่ออกมาใหม่นั้นจะมีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร และมีปลอกหุ้มเงี่ยงหางเอาไว้ เพื่อมิให้ทำอันตรายต่อแม่ปลา ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว สันนิษฐานว่าที่ต้องมีขนาดตัวใหญ่เช่นนี้ พื่อมิให้ตกเป็นอาหารของนักล่าชนิดต่าง ๆ ในแม่น้ำ[3]
ปลากระเบนราหู ถูกอนุกรมวิธานในปี ค.ศ. 1990 โดย ศ.ดร.สุภาพ มงคลประสิทธิ์ อดีตคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.ไทสัน โรเบิร์ตส์ แห่งสถาบันกองทุนสัตว์ป่าโลก
ปลากระเบนราหูมักถูกพบจับขึ้นมาชำแหละขายเสมอในจังหวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ชัยนาทจนถึงอยุธยา และปากแม่น้ำแม่กลอง ตามที่ปรากฏเป็นข่าวบ่อย ๆ ตามหน้าสื่อหนังสือพิมพ์
จัดเป็นปลาน้ำจืดไทยอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์[4]

[แก้] รูปภาพ

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Shark Specialist Group (2000). Himantura chaophraya. In: IUCN 2000. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on March 24, 2009.
  2. ^ Assessment includes Australasian populations now separated as H. dalyensis.
  3. ^ Death Ray: River Monster by Animal Planet
  4. ^ หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (กรุงเทพ, พ.ศ. 2544) ISBN 974-475-655-5

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น