วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปลาแอฟริกันไทเกอร์

ปลาแอฟริกันไทเกอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก สกุลปลาไทเกอร์)
สกุลปลาแอฟริกันไทเกอร์
ชนิด H. vittatus ขนาดเล็กจากแม่น้ำเซมเบซีตอนบน
ชนิด H. goliath ขนาดใหญ่กว่า 5 ฟุต และมีน้ำหนักถึง 45 กิโลกรัม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Characiformes
วงศ์:Alestiidae
สกุล:Hydrocynus
Cuvier, 1816
ชนิด
ดูในเนิ้อหา
สกุลปลาแอฟริกันไทเกอร์ (อังกฤษ: African Tigerfish, ชื่อวิทยาศาสตร์: Hydrocynus) สกุลของปลาน้ำจืด 5 ชนิดที่อยู่ในวงศ์ปลาเตตร้าแอฟริกัน (Alestiidae) ในอันดับปลาคาราซิน ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrocynus (/ไฮ-โดร-ไซ-นัส/) โดยมาจากภาษากรีก คำว่า "hydro" หมายถึง น้ำ บวกกับคำว่า "kyon" ที่หมายถึง สุนัข[1]
เป็นปลากินเนื้อทั้งหมด มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวเพรียวยาวเหมือนตอร์ปิโด เกล็ดมีขนาดใหญ่ มีสีเงินแวววาว และที่ชิ้นเกล็ดจะมีจุดสีเข้ม ทำให้เห็นเป็นลายพาดตามยาวไปตามแนวข้างลำตัวเหนือเส้นข้างลำตัว ทำให้มองดูคล้ายลายของเสือลายพาดกลอน อันเป็นที่มาของชื่อ นอกจากแถบดังกล่าวแล้วส่วนที่ไม่ใช่แถบจะมีสีออกสีเงิน สีขาว และสีเทา ขณะที่บางตัวอาจมีเหลือบสีฟ้า สีเขียว สีส้ม หรือสีเหลืองอ่อนผสมอยู่ด้วย ปลาในสกุลนี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ทั้งหมด ครีบหลังจะอยู่ในระดับเดียวกับ ครีบท้องอาจจะอยู่ข้างหน้าเล็กน้อย ภายในปากมีฟันหนึ่งชุดที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนและเป็นจุดเด่น ซึ่งฟันแต่ละซี่ตั้งอยู่ในเบ้า ระหว่างฟันซี่อื่น ๆ บนขากรรไกร และจะแลเห็นได้ตลอดเวลาแม้แต่เมื่อปิดปากสนิท ขากรรไกรมีความแข็งแรงและทรงพลังมาก อีกทั้งสามารถยืดขยายได้กว้างเพราะมีจุดยึดกับมุมปากอยู่ถึงสองจุด ตาจะถูกคลุมโดยเปลือกตาเกือบทั้งหมด ครีบหางเว้าลึกเป็นสองแฉก
พบในลุ่มแม่น้ำคองโก ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวมากในทวีปแอฟริกาตอนกลาง เป็นปลาล่าเหยื่อที่ล่าได้อย่างรวดเร็ว ดุดัน ไม่แพ้ปลาปิรันยาในลุ่มแม่น้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ แต่ไม่นิยมล่ารวมเป็นฝูง และเคยมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์ได้อีกด้วย โดยที่ชาวพื้นเมืองแอฟริกาได้เรียกปลาสกุลนี้ในภาษาลิงกาลาว่า เอ็มเบ็งกะ (Mbenga) และมีความเชื่อว่าการที่มันล่าและทำร้ายมนุษย์เพราะมีวิญญาณที่ชั่วร้ายสิงสถิตอยู่[2]
มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ H. goliath ที่มีความยาวที่สุดได้ถึง 6 ฟุต และมีน้ำหนักถึง 100 ปอนด์[3]
เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา จัดเป็นปลาที่ตกได้ยากมากจำพวกหนึ่ง[4] เพราะอาศัยในกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว และชอบกระโดด และยังเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น